เลือกกองทุนรวมเกาะกระแส Megatrend

ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ของโลก ธุรกิจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้ทันกระแสโลก อนาคต กระแสการเปลี่ยนแปลงบางอย่างอาจจะเป็น “ความเสี่ยง” ที่ทำให้บางธุรกิจต้องล้มหายตายจาก แต่ในขณะเดียวกันก็เป็น “โอกาส” ให้บางธุรกิจเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด ผู้ลงทุนอย่างเราก็สามารถเลือกลงทุนในธุรกิจที่จะเติบโตได้ดีจากกระแส
Megatrend และสามารถลงทุนผ่านกองทุนรวมได้ โดยมีกระแส Megatrend ที่น่าสนใจดังนี้

Megatrend #1: Aging Population and the Silver Age

เราทราบกันดีว่าสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเร็วมากทั่วโลก นับเป็น Demographic Megatrend ที่จะขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงต่างๆ รอบตัวเราต่อไปอีกหลายสิบปี โดยผู้สูงอายุมีอัตราการเพิ่มสูงมากเป็นพิเศษในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ในเอเชียและลาตินอเมริกา สำหรับเอเชีย สัดส่วนประชากรอายุ 60+ จะเพิ่มจาก 12% เป็น 25% ในปี 2050 คิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้น 114%

ในอดีตเราเคยคิดว่า ผู้สูงอายุที่เกษียณแล้วคือคนที่จะกลายเป็นภาระให้ลูกหลานดูแล หรือไม่ก็ต้องย้ายไปอยู่บ้านพักคนชรา แต่ในปัจจุบันเราจะพบว่า คนที่อายุ 50+ ซึ่งอยู่ในวัยใกล้เกษียณ หรือ 60+ ที่เพิ่งเกษียณหมาดๆ หลายคนยังแข็งแรงกระฉับกระเฉง หลายคนยังทำงานแบบเต็มเวลาได้ ประกอบกับคนที่เกษียณในปัจจุบันเป็นรุ่น Baby Boomers
ซึ่งขยันทำงานและเก็บเงินเก่ง เมื่อร่างกายยังแข็งแรงและมีเงินเก็บเยอะ Baby Boomers จึงกลายเป็น “ผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อมหาศาล” พร้อมที่จะ spend เพื่อซื้อบ้านหลังใหม่หรือรถคันใหม่, ทำกิจกรรม outdoor, ท่องเที่ยว, ซื้อผลิตภัณฑ์ skincare และ Anti-aging ฯลฯ

สล็อตออนไลน์

การลงทุนที่น่าสนใจคือ การลงทุนในแนว “Long Term Investment Theme” คือ เป็นธีมลงทุนระยะยาว ที่เกาะกระแส Demographic Megatrend เรื่อง Baby Boomers ที่กำลังทยอยเกษียณในอีก 10 – 20 ปีข้างหน้า และมีแนวทางการลงทุนที่กว้างกว่า Healthcare โดยมีกลุ่มที่น่าสนใจ 8 กลุ่ม ดังนี้

  • Well-Being – การลดริ้วรอย (Botox, Filler) ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์เน้น Anti-aging (L’Oreal, Estee Lauder, Shiseido, Amore Pacific เจ้าของแบรนด์ Etude), ผ้าอ้อมสำหรับผู้ใหญ่
  • Medical Equipment – ผู้ผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ อาทิ เครื่องวัดความดัน เครื่องช่วยฟัง ฯลฯ ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสายตา (หนึ่งในหุ้น top 5 คือ Edward Lifesciences เจ้าของเทคโนโลยีการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมโดยไม่ต้องผ่าตัดบายพาส)
  • Pharmaceuticals – ผู้ผลิตยาและเวชภัณฑ์เน้นโรคที่เกิดกับผู้สูงอายุ อาทิ หัวใจ, ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, มะเร็ง (Roche, Novartis, Pfizer)
  • Leisure – บริษัททัวร์หรือเรือสำราญ (Carnival, TUI, MINT) สถานบันเทิงแบบกาสิโน เพราะสังเกตว่า
    คุณลุงคุณป้าชอบเล่น slot machine

jumboslot

  • Asset Gatherers – สถาบันการเงินที่ให้คำปรึกษาการวางแผนทางการเงินหลังเกษียณ อาทิ บริษัทจัดการกองทุน ประกันชีวิต และ Private Wealth (BlackRock, AXA, ING, Credit Suisse)
  • Automobiles – บริษัทรถยนต์ระดับ Premium และรถยนต์ที่มีเทคโนโลยีอำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภคผู้สูงอายุ (BMW, Ford, Toyota)
  • Security – ผลิตภัณฑ์ความปลอดภัยและสัญญาณเตือนภัย (Securitas, SECOM)
  • Dependency – โรงพยาบาลและบริการทางการแพทย์สำหรับผู้สูงอายุ (HCA, Raffles Medical)

เป็นที่น่าสังเกตว่า การลงทุนโดยเลือกบริษัทที่ได้ประโยชน์จากการบริโภคของกลุ่ม Global Silver Age เป็นแนวทางการลงทุนระยะยาว หรือ Very Long-term Investment Theme ที่น่าจะไปไกลกว่ากลุ่ม Baby Boomers เพราะเชื่อว่า เมื่อคนรุ่นเราที่เป็น Gen X เกษียณในอีก 20 – 30 ปีข้างหน้า ก็คาดว่าจะมีแนวคิดการดูแลตัวเองและชอบ Active Lifestyle คล้ายๆ กัน

Megatrend #2: The Need for Infrastructure

เวลาคิดถึง Infrastructure คนส่วนใหญ่มักคิดถึงการก่อสร้างโครงการใหม่ๆ ในประเทศกำลังพัฒนา (Emerging Markets) แต่ที่จริงแล้วการลงทุนใน Infrastructure เป็นที่ต้องการทั่วโลก แม้ในประเทศพัฒนาแล้วก็ยังมีความต้องการสร้างโครงการใหม่หรือขยายโครงการเก่า

มีการศึกษาของ S&P ที่ระบุว่า การลงทุนใน Infrastructure ทุก 1% ของ GDP ช่วยสร้างตัวคูณทางเศรษฐกิจ หรือ Multiplier Effect มากถึง 2 – 3 เท่าในหลายประเทศ จึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า

การลงทุนใน Infrastructure แบ่งได้เป็น 2 เฟส ดังนี้

  • เฟสกำลังก่อสร้าง (Greenfield) – ส่วนใหญ่พบได้ในประเทศกำลังพัฒนา (Emerging Markets) ในเฟสกำลังก่อสร้างนี้ การลงทุนที่ได้ประโยชน์คือ หุ้นกลุ่มผู้รับเหมา และกลุ่มวัสดุก่อสร้าง

เครดิตฟรี

  • เฟสสร้างแล้วเสร็จ (Brownfield) – ส่วนใหญ่พบได้ในประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Markets) เป็น
    การลงทุนในหุ้นของกิจการที่เป็น “เจ้าของ” โครงการ Infrastructure โดยควรเป็นโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน

สำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการลดความเสี่ยงของพอร์ตด้วยการโยกเงินลงทุนส่วนหนึ่งออกจากกองทุนหุ้นที่ผันผวนมากในช่วงนี้ แนะนำให้มองหากองทุน Infrastructure ที่ลงทุนในโครงการที่สร้างเสร็จแล้ว เน้นรับรายได้ประจำ มูลค่าเงินลงทุนไม่ผันผวนเท่าหุ้น ซึ่งเป็นการลงทุนค่อนข้างใหม่สำหรับคนไทย

โครงการที่สร้างเสร็จมีความแตกต่างของระดับ “ความเสี่ยง” แนะนำให้เลือกโครงการที่มี “รายได้” ที่มั่นคง เป็นกิจการผูกขาด ไม่มีคู่แข่ง โดยมี “การเติบโตของกำไร” เป็นของแถม เรียกแนวการลงทุนแบบนี้ว่า Preferred Infrastructure ซึ่งมีลักษณะเฉพาะดังนี้

  • เป็นโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน เช่น รถไฟใต้ดิน ทางด่วน ทางรถไฟ
    เสาโทรคมนาคม สนามบิน ท่อส่งก๊าซ ฯลฯ
  • มีความต้องการใช้แน่นอน ไม่เพิ่มหรือลดตามภาวะเศรษฐกิจ ในทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่า inelastic demand
  • มีลักษณะ monopoly คือ ไม่มีคู่แข่ง เช่น เป็นทางด่วนสายเดียวที่เชื่อมเมือง A ไป B หรือเป็นสนามบินแห่งเดียวของเมือง
  • มีรายได้ประจำที่ผูกมัดด้วยสัญญาแน่นหนา โดยเลือกลงทุนในประเทศที่มีกฎหมายแปรรูปรัฐวิสาหกิจชัดเจน เมื่อมอบให้เอกชนไปลงทุนหรือดำเนินโครงการแล้วต้องไม่มีการแทรกแซงทางการเมืองเพื่อปรับเปลี่ยนสัญญาหรือปรับลดค่าบริการ ฯลฯ

Megatrend #3: Urbanization

กระแสโลกที่เกิดขึ้นควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะเชิงประชากรศาสตร์ (Demographic Megatrend) อีกประการหนึ่งคือ การขยายตัวหรือการเพิ่มปริมาณของสังคมเมือง หรือ urbanization ตามสถิติขององค์การสหประชาชาติ ในช่วงยุคปี ค.ศ. 1950 ประชากรโลกที่อาศัยอยู่ในตัวเมืองมีน้อยกว่าร้อยละ 30 ต่อมาในปี 2007 เป็นครั้งแรกที่ประชากรโลก
อาศัยอยู่ในเมืองมากกว่าในชนบท โดยในปี 2014 สัดส่วนประชากรโลกที่อยู่ในเมือง คือ 54%

สำหรับประเทศไทย สัดส่วนประชากรเมือง (อาศัยอยู่ในเมืองที่มีประชากร > 100,000 คน) เพิ่มขึ้นจาก 37.52% ในปี 2005 เป็น 50.37% ในปี 2015

สล็อต

การย้ายเข้าเมืองก่อให้เกิดความต้องการด้านที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน และการคมนาคมขนส่ง ทำให้เกิดความจำเป็นในการสร้างเมกะโปรเจกต์ใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภคขนาดใหญ่ เช่น การสร้างสนามบิน ทางด่วน รถไฟฟ้าความเร็วสูง หรือรถไฟใต้ดิน ซึ่งโยงเข้ากับ Megatrend #2: The Need for Infrastructure ทั้งยังมีผลต่อการ
เปลี่ยนแปลงในแง่ของวิถีในการดำรงชีวิต เนื่องจากคนเมืองมีเวลาจำกัด มีวิถีชีวิตที่เร่งรีบ จึงต้องการความสะดวกสบาย ในแง่ของการจับจ่ายใช้สอย ก็เปลี่ยนจากการจ่ายตลาดหรือซื้อจากร้านขายของชำ เป็นห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อ

กองทุนที่น่าสนใจคือกองที่เน้นลงทุนในกลุ่มค้าปลีก อาคารสำนักงาน และคลังสินค้า ที่มีอัตราการเช่าเกือบเต็มและรายได้ค่าเช่ามั่นคง คาดหวังผลตอบแทนจากเงินปันผล (Dividend Yield) ประมาณ 6-8% ต่อปี เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการผลตอบแทนในรูป income return ที่มั่นคงในภาวะที่ดอกเบี้ยต่ำ เป็นการเกาะกระแส Megatrend #3: Urbanization
โดยเฉพาะกลุ่มห้างสรรพสินค้า ที่ปัจจุบันคนเมืองไปห้างสรรพสินค้าเพื่อทำกิจกรรมหลากหลายมากขึ้น ทั้งการจับจ่ายใช้สอยสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน ทานข้าว ทำธุรกรรมการเงิน ออกกำลังกายที่ฟิตเนส เสริมสวย ชมภาพยนตร์ ฯลฯ นักลงทุนศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการตัดสินใจ

คำเตือน

· ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

· ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

· ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลกองทุนรวมโดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายการลงทุน ความเสี่ยงและผลการดำเนินงานของกองทุนรวมที่เปิดเผยไว้ในเวปไซต์ของบริษัท หรือสามารถขอข้อมูลได้จากเจ้าหน้าที่ ก่อนตัดสินใจลงทุน

· บริษัทจัดการใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อเป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนของกองทุน (Hedging)

· บริษัทผู้จัดการกองทุนอาจพิจารณาปรับเปลี่ยนอัตราส่วนในการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนของกองทุน ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนในแต่ละช่วงเวลาของการลงทุน

· เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงและอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้

· ผู้ลงทุนสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และรับหนังสือชี้ชวนและโครงการและข้อผูกพันได้ที่บริษัทจัดการและผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน

You may also like...