5 เคล็ดลับ บริหารเงิน “พ่อ-แม่ มือใหม่”

ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมานี้ มองไปที่คนรอบตัว ทั้งรุ่นพี่ ผองเพื่อน หรือรุ่นน้อง แต่ละคน ต่างก็กำลังเป็นคุณพ่อ- คุณแม่ มือใหม่ กันทั้งนั้น ^__*

นอกจากน้องๆ หนูๆ จะเป็นเหมือนนาฬิกาปลุกทุกๆ ไม่กี่ชั่วโมงแล้ว… ยังเปรียบเสมือน “สัญญาณเตือน” ให้พ่อ – แม่ ระมัดระวังการใช้จ่ายอีกด้วย

เพราะสิ่งหนึ่งที่คนเหล่านี้มีเหมือนกันคือ “พฤติกรรมการใช้เงินที่เปลี่ยนไป”

สล็อตออนไลน์

คุณแม่ ที่เคยเป็นขาช้อป กลับแต่งตัวไม่จัดจ้านเหมือนเก่า เพราะต้องเก็บเงินไว้แต่งตัวให้ลูกแทน
คุณพ่อ ที่เคยปาร์ตี้หนัก กลับมาทานข้าวที่บ้านเกือบทุกวัน เพราะต้องประหยัดเงินไว้ส่งลูกเรียน

“INVESTORY พิพิธภัณฑ์เรียนรู้การลงทุนแห่งแรกของไทย” ณ อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ชี้ให้เห็นข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์ต่อพ่อ – แม่ มือใหม่ ที่จะเตรีมสตางค์ไว้ให้กับทายาทของตนว่า…

แพ็คเกจคลอดที่โรงพยาบาลในกรุงเทพฯ เฉลี่ย 44,877 บาท
ค่าเทอมโรงเรียนอนุบาล – มัธยมชื่อดัง เฉลี่ย 39,860 บาทต่อเทอม
ค่าเทอมมหาวิทยาลัย หลักสูตรปกติ 4 ปี เฉลี่ย 56,501 บาทต่อเทอม

นี่ยังไม่รวมค่ากิน ค่าอยู่ ค่าเสื้อผ้า ค่าเรียนพิเศษ ค่าเดินทาง ค่ายา ค่าหอพัก อีกสารพัด ที่หากไล่เรียงทั้งหมด คงได้บิลยาวเป็นหางว่าว

jumboslot

สำหรับใครที่ไม่อยากปวดหัวกับเรื่อง “เงินทอง” ที่แม้เป็นของนอกกาย แต่สำคัญต่อชีวิตและจิตใจล่ะก็
ลองพิจารณา 5 คำแนะนำจาก CNBC กัน

แจกแจง “เป้าหมายการเงิน” ของครอบครัวให้ดี
หลายครอบครัว เป้าหมายการเงินเปลี่ยน หลังปรับสถานะเป็นพ่อคน แม่คน ดังนั้นเพื่อให้การบริหารเงินของครอบครัวมีประสิทธิภาพ สามี – ภรรยา ควรพูดคุยกันถึง “เป้าหมายร่วม” ของครอบครัว แล้วจัดลำดับความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น การศึกษาบุตร การเกษียณของตน หรือแม้แต่การผ่อนบ้าน

บางครั้งการตัดสินใจครั้งสำคัญก็คือการตอบให้ได้ว่า “ใครจะดูแลลูกระหว่างที่ตนทำงาน” บางครอบครัวเลือกที่จะจ้างคนดูแล ซึ่งก็มีต้นทุนสูง ขณะที่บางบ้านตัดสินใจให้ฝ่ายหนึ่งลาออกจากการทำงาน แต่ก็ต้องแลกมาด้วยรายได้ที่หายไป…ไม่มีสูตรสำเร็จสำหรับเรื่องนี้ อยู่ที่รูปแบบไหนจะทำให้ครอบครัวสบายใจมากกว่ากัน

เครดิตฟรี

ใช้เงินตามงบ
สิ่งที่สำคัญกว่าการใช้เงิน คือ “การตั้งงบประมาณที่ตรงกับความจริงมากที่สุด” โดยคำนวณ จากไลฟ์สไตล์ และค่าใช้จ่ายจริงในชีวิตประจำวัน ที่มักเพิ่มขึ้นหลังมีเจ้าตัวน้อย หลังจากนั้นจงทำตามสิ่งที่ตั้งใจไว้ มีวินัยกับมัน เพราะจะทำให้เรารู้ว่าเงินของเราหมดไปกับอะไร มากน้อยแค่ไหน หากตึงไปควรลดค่าใช้จ่ายใด

ที่สำคัญ…ไม่ควรโกหกตัวเองแล้วไปตั้งงบต่ำๆ สุดท้ายก็ต้องไปควักเงินจากกระเป๋านู้น บัญชีนั้น มาใช้ แล้วก็ทำให้ไม่สามารถเราวางแผนการเงินส่วนอื่นได้เลย ดังนั้น “จงซื่อสัตย์กับค่าใช้จ่ายของตนเอง”

อย่าลืม “ตั้งเงินสำรองฉุกเฉิน”
เงินสด หรือเงินที่มีสภาพคล่องสูง 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน คือสิ่งที่จำเป็นสำหรับพ่อ- แม่ มือใหม่ทุกคน เพราะบางครั้งค่าใช้จ่ายหลายอย่างอาจเกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดคิด ทั้งในส่วนของลูกน้อย และพ่อ- แม่

ทำเรื่องออมและหนี้ให้เป็น “อัตโนมัติ”
หลังจากตั้ง “เป้าหมายร่วม” (ข้อ 1 ) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ง่ายที่สุดก็คือทำทุกอย่างให้เป็นอัตโนมัติ ทั้งการผ่อนบ้าน ชำระหนี้ ออมเงิน ลงทุนเพื่อลูก ฯลฯ เพราะสิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าเรากำลังเดินไปตามเส้นทางของ “เป้าหมายร่วม” ที่ตั้งไว้อย่างเคร่งครัด

สล็อต

ซื้อ “ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ” และวางแผนเรื่อง “บ้าน”
สิ่งแรกหลังจากรู้ว่าเป็นคุณพ่อ – คุณแม่ ก็คือการซื้อประกันชีวิตแบบตลอดชีพ เนื่องจากมีเบี้ยที่ไม่สูงนัก แต่เป็นประกันเพื่อคนข้างหลัง (ลูก) อย่างแท้จริง แต่ก็ไม่ควรซื้อเกินกว่าความจำเป็นหรือศักยภาพของตน

โดยทุนประกันควรอยู่ที่ 10 เท่าของรายได้ต่อปี หรือคำนวณจากค่าใช้จ่ายที่ลูกต้องใช้จนถึงการเรียนระดับมหาวิทยาลัย รวมถึงมูลหนี้ของบ้าน ในกรณีที่เราจากไปก่อนวัยอันควรด้วย

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการบริหารเงินพ่อ – แม่ มือใหม่ แต่สิ่งสำคัญที่มากกว่าเรื่องเงินก็คือ “เวลา” ที่จะใช้ชีวิตกับลูกน้อยอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึง “ความรัก- ความเอาใจใส่” ที่แม้จะมีเงินมากแค่ไหน ก็ไม่สามารถหาอะไรมาทดแทนสองสิ่งนี้ได้ พ่อ แม่มือใหม่ต้องส฿กษาให้ดี

You may also like...