5 สิ่งที่ควรและไม่ควรทำเพื่อการเพิ่มผู้ประกอบการ
5 สิ่งที่ควรและไม่ควรทำเพื่อการเพิ่มผู้ประกอบการ
สร้างรากฐานที่เหมาะสมเพื่อการเป็นเจ้าของธุรกิจในอนาคต
ในขณะที่ปัจจัยที่เป็นสาเหตุหลักในการสร้างผู้ประกอบการอาจจะอยู่ที่ไหนสักแห่งระหว่างเป็นไปโดยธรรมชาติและจากการฝึกฝน อบรม ซึ่งมีอยู่หลายวิธีด้วยกันที่ถือเป็นการเริ่มต้นของกระบวนการทางความคิดที่สำคัญ ที่บรรดาผู้ประกอบการที่สำเร็จได้แสดงให้เห็น
นี่คือเคล็ดลับบางส่วนที่เป็นประโยชน์ ที่อาจช่วยให้ผู้เริ่มต้นแบบเด็กหัดเดิน ได้เป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในอนาคต
- สอนเทคนิคการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ
เด็กไม่ว่าจะอยู่ในช่วงอายุเท่าใด จะต้องเคยประสบปัญหาในชีวิตประจำวันมาก่อนทั้งนั้น ในขณะที่คุณอาจหัวเราะ (อยู่ในใจ) ว่าปัญหาเหล่านั้นดูจะเป็นเพียงแค่เรื่องเล็กน้อย แต่ปัญหาเหล่านั้นอยู่ตรงหน้าของเขาหรือเธอ อาจเป็นอุปสรรค์ที่พวกเขาจะต้องก้าวข้ามเพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อไป
หากลูกของคุณมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่ไม่สามารถเอาชนะได้ ควรให้ความสนใจและเคารพต่อเขา และดูว่ามีสิ่งใดที่คุณทำได้บ้างในข้อผิดพลาด แทนที่จะแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยตรง ส่งเสริมให้เกิดนิสัยของการพิจารณา โดยการดำเนินการประชุมระดมความคิดเล็ก ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมโดยทั้งสองฝ่าย
ช่วยเหลือพวกเขาในการระบุว่าปัญหาคืออะไร และสอบถามพวกเขาว่าคิดว่าอะไรคือวิธีแก้ไขที่สามารถนำมาใช้ได้ ส่งเสริมให้ชั่งน้ำหนักข้อดีและข้อเสียอย่างมีเหตุผลและยุติธรรม และเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดในการตัดสินใจตอนสุดท้าย
หมายเหตุ: การสร้างสภาพแวดล้อมที่ผู้ปกครองเป็นผู้รับฟังและเด็ก ๆ สามารถตัดสินใจและตั้งสมมติฐานความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจนั้นได้อย่างอิสระถือเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
- ส่งเสริมให้พวกเขาเป็นผู้เล่นในทีม
เมื่อลูก ๆ โตพอแล้ว ส่งเสริมพวกเขาให้เข้าร่วมสังคมหรือทีมกีฬาของโรงเรียน หรือกลุ่มที่สนใจเพื่อให้พวกเขารู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเล่นกีฬา สามารถถือเป็นห้องเรียนสำหรับผู้ประกอบการที่ดีที่สุด เด็ก ๆ ที่เคยผ่านการเล่นกีฬาแบบทีมมาแล้วจะได้เรียนรู้วิธีการจัดการกับความพ่ายแพ้และวิธีการที่จะเอาชนะความทุกข์ทรมานของความพ่ายแพ้ การตั้งสมมติฐานว่าต้องอยู่ในฐานะของผู้นำหรือการส่งเสริมทีมกีฬายังช่วยให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำและการสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้อื่น
เช่นเดียวกับการดำเนินการตามส่วนของตนเองอย่างขยันขันแข็งเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จของทีม
การทำงานเป็นทีมและความพ่ายแพ้ หรือความถดถอย เป็นบทเรียนที่สำคัญสำหรับความพยายามของผู้ประกอบการในอนาคต ที่จะต้องรู้สึกขอบคุณสำหรับคุณค่าของจริยธรรมในทีมที่ดีในช่วงวัยเยาว์
- สร้างแรงจูงใจในการทำภารกิจเล็กน้อยภายในบ้านเพื่อให้เด็ก ๆ รู้จักความพยายาม
ในโลกแห่งความพึงพอใจที่เกิดขึ้นได้ง่ายในปัจจุบัน เด็กบางคนอาจขัดขืนในแนวความคิดของการทำงานเพื่อรับรางวัล สถานการณ์หรือโครงสร้างของธรรมชาติเช่นนี้ จะรู้โดยการแสดงออกด้วยการแก้ต่างและการร้องไห้ พร้อมกับจ้องมองความหวังที่มีจุดมุ่งหมายที่จะเรียกความเห็นอกเห็นใจการตอบสนองในเชิงบวกจากผู้ปกครอง
อย่ายอมแพ้! มอบหมายหน้าที่ให้ลูกๆ ได้ทำงานเป็นกิจวัตร โดยหลีกเลี่ยงภารกิจที่ต้องใช้เวลานาน ขณะที่งานเหล่านี้อาจจะไม่ได้ให้พวกเขามีโอกาสที่จะฝึกฝนทักษะทางเทคนิคของพวกเขา แต่จะช่วยทำให้พวกเขาเข้าใจได้ว่าบ่อยครั้งจำเป็นจะต้องอดทนและพยายาม หรือทำงานบางอย่างเพื่อให้ทุกสิ่งทุกอย่างโดยรวมเป็นไปอย่างราบรื่น
ตัวอย่างเช่น ให้บุตรหลานของคุณมีหน้าที่ในการจัดสายเคเบิล หรือชาร์จอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของครอบครัวอย่างสม่ำเสมอ หากการจัดการสายเคเบิลคือหน้าที่ของวัน ให้บุตรหลานของคุณแต้มสีที่ปลายสายเคเบิลที่ยุ่งเหยิงและม้วนเก็บไว้ด้วยมาส์กิ้งเทป
หมายเหตุ: จำไว้ว่าควรถอดปลั๊กอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ออกจากเต้าเสียบก่อนที่จะให้เด็ก ๆ เข้าใกล้สายเคเบิลหรืออุปกรณ์เหล่านั้น! การให้ความรู้และการสอนให้รู้ขั้นตอนก็ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน
เมื่อได้ถอดปลั๊กอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ออกหมดแล้ว ให้บุตรหลานได้ทำป้ายเครื่องหมายสำหรับสายเคเบิลทุกสาย ช่วยให้พวกเขาในการแกะทุกขั้นตอน ตัดสายเคเบิ้ลที่พันกัน และตรวจสอบสายไฟไม่ได้ใช้งานจริง หรือไร้ประโยชน์!
หน้าที่ในการเก็บทั้งหมดเข้าด้วยกันเป็นโอกาสที่ล้ำค่าเพื่อเสริมสร้างความคิดและตรรกะโดยการหาเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดสำหรับทุกสายที่แตกต่างกัน
สร้างแรงจูงใจให้กับความพยายามอย่างรอบครอบของพวกเขาด้วยรางวัลพิเศษหลังมื้อค่ำ หรือให้เข้านอนได้ช้ากว่าเดิม 15 นาที (รางวัลแสนล้ำค่าสำหรับเด็กที่จะเพลิดเพลินกับโอกาสที่จะอยู่ถึงจนดึกเหมือนกับคุณแม่และคุณพ่อ!)
- อย่าเพิกเฉยต่อคำถาม “ทำไม”
อาจจะดูเหมือนเป็นการละเลยต่อคำถามที่มีมาอย่างไม่สิ้นสุดที่ปะทุขึ้นเมื่อใดก็ตามที่ลูกของคุณเกิดความสงสัย อยากรู้อยากเห็น หรือเพียงแค่เบื่อ ถึงแม้ว่าคุณอาจจะต้องการความสงบและเงียบ จึงตามมาด้วยการที่ผู้ปกครองระเบิดออกไปว่า “ก็เพราะว่าฉันบอกแบบนั้นน่ะสิ ตอนนี้ก็เลิกถามได้แล้วว่าทำไม!” ซึ่งเป็นคำพูดที่ควรหลีกเลี่ยงเป็นอย่างยิ่ง
เพื่อเป็นการเสริมสร้างความคิดแบบผู้ประกอบการ กระตุ้นให้ลูกของคุณที่จะคิดต่อไปข้างหน้า ให้ถามคำถามว่า “ทำไม” และไม่หยุดที่จะหาคำตอบนั้น ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะนำอุปกรณ์ใดกลับมาที่บ้านและให้ลูกได้เห็นโดยไม่อธิบายวิธีใช้หรือวัตถุประสงค์ที่นำมา ส่งเสริมให้พวกเขาคุ้นเคยกับมันและคิดด้วยตัวเอง หากพวกเขายอมแพ้และเบื่อ
บางทีคุณอาจจะใช้การให้รางวัลมาเป็นตัวช่วยให้พวกเขาสนใจต่อไป หลักจากนั้น ลูก ๆ จะคุ้นเคยกับการคิดด้วยตัวเองและหาคำตอบให้กับตัวเองแทนการมองหาตัวช่วยที่ป้อนการแก้ไขปัญหานั้น
- อย่าทำให้การพูดคุยเรื่องเงินเป็นเรื่องต้องห้าม
สุดท้าย แต่ไม่ท้ายสุด ควรให้การสนทนาเรื่องเงินเป็นแบบเปิด ในครอบครัวส่วนใหญ่ เด็กมักถูกแยกออกจากการพูดคุยกันเรื่องเงิน หรือได้รับรู้ในช่วงเวลาของการขาดแคลนหรือความยากลำบาก
ในสถานการณ์เช่นนี้ เด็ก ๆ จะเรียนรู้ที่จะเชื่อมโยงความคิดกับเงินด้วยความกังวล และจะทำให้เรื่องเงินกลายเป็นหัวข้อที่ตึงเครียด หากคุณต้องการฝึกฝนเด็กๆ ให้เติบโตขึ้นแบบเผชิญกับความเสี่ยงอย่างชาญฉลาด
ควรหลีกเลี่ยงในการให้เด็ก ๆ อยู่ในสถานการณ์ที่เป็นกังวล ในสถานการณ์เกี่ยวกับเด็กเหล่านี้ จะทำให้เด็กต้องเป็นเบี้ยล่างเมื่อถึงการจัดทำงบประมาณ การเจรจาต่อรองและการดูแลสภาพชีวิตการเงินของพวกเขา
เพื่อเป็นการสร้างให้เกิดความคิดเชิงบวกในหัวข้อที่ละเอียดอ่อนนี้ คุณพ่อหรือคุณแม่สามารถแบ่งปันข่าวที่เกี่ยวข้องกับการงานของครอบครัวได้ เช่น อาจจะพูดคุยกับเกี่ยวเงินได้ที่ได้รับจากงานที่ทำ การคาดการณ์ และพูดคุยเกี่ยวกับวิธีการที่รายได้สนับสนุนครอบครัวและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ (อาหาร ค่าผ่อนบ้าน ค่าใช้จ่ายในการทัศนศึกษา เบี้ยเลี้ยง เป็นต้น)
ให้เด็กมีส่วนร่วมใน “การประชุมธุรกิจครอบครัว” ที่ประเมินค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น และภาระผูกพันใน การลำดับความสำคัญของความจำเป็นและความต้องการทางการเงินของแต่ละคน
วิธีนี้ เด็กๆ จะได้รับการส่งเสริมให้กลายเป็นผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเงิน แทนที่จะรู้สึกว่าเป็นเหยื่อจากการตัดสินใจของผู้ปกครอง
ขั้นตอนเหล่านี้ นอกจากจะมีประโยชน์ในการฝึกฝนทักษะให้กับเด็ก ๆ แล้วยังเป็นเคล็ดลับง่าย ๆ สำหรับผู้ปกครองที่ปรารถนาที่จะให้บุตรหลานเป็นผู้ที่มีรากฐานที่แข็งแกร่งในด้าน “ความพยายาม และ ผลตอบแทน” สำหรับเคล็ดลับเพิ่มเติมสำหรับวิธีการเสริมสร้างสภาพจิตใจของวัยเด็กด้วย 5ประโยคที่ไม่ควรพูดกับเด็ก ถ้าหากสามารถจัดการกับปัญหาเหล่านี้ ก็ไม่มีสิ่งไหนน่าเป็นห่วงอีกต่อไป