5 ทักษะจำเป็น ยุค2021
สรุปทักษะ 5 อย่างที่จะทำให้คุณไม่มีวันตกงาน
- ความรู้ที่เรารับมา มีอายุเท่าไหร่ก่อนจะใช้งานไม่ได้?
- เฉลี่ย 9 ปี
- กล่าวคือ ภายในทุก ๆ 4 ปี ควรจะเรียนรู้เรื่องที่เคยรู้แล้วใหม่ทั้งหมด
- และมีแนวโน้มว่าจะสิ่งที่เรียนรู้มาจะมีอายุสั้นลงเรื่อย ๆ โดยเฉพาะเรื่องเทคโนโลยี
(หัวหน้าห้องเคยเรียนเขียนเว็บไซต์ได้ด้วย code html เพื่อทำเว็บหน้าละชั่วโมง จนวันนี้สามารถเสกเว็บไซต์เสร็จได้ภายใน 20 นาทีโดยไม่ต้องซื้อหนังสือเลยซักเล่ม) - ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนหางาน และบริษัทที่หาคนมาทำงานจะกว้างออกเรื่อย ๆ
- กล่าวคือ คนที่มีความรู้ความสามารถในการทำงาน
กับคนที่ไม่รู้ ไม่มีความสามารถในการทำงาน จะกว้างออกเรื่อย ๆ - กล่าวคือ คนไม่มีงานทำเพราะไม่มีความรู้
ส่วนนายจ้างเอง ก็ต้องการจ้างก็เฉพาะคนที่ทำเป็น - การหางานทำ > เราสามารถแก้ปัญหาอะไรให้เขาได้, คุณค่าของเราคืออะไร
- ถ้าแก้ปัญหาให้ใครไม่ได้เลย > ไม่ได้รับการจ้าง
- วุฒิปริญญา = ใบรับรองสินค้า จากสถาบันศึกษาต่าง ๆ
- เรา = สินค้า ที่จะให้ลูกค้า(บริษัทต่าง ๆ)ใช้บริการ ใช้ความสามารถของเรา
- บริษัทต่าง ๆ(ลูกค้า) ก็จะเทียบคน(สินค้า)ต่าง ๆ ตามมหาลัยต่าง ๆ (ชั้นวางของ)
- ตัวเรา = สินค้า , บริษัทต่าง ๆ = ลูกค้า
- ถ้า Demand น้อย Supple เยอะ = เงินเดือนก็จะต่ำ (แข่งกันที่ราคา)
- สินค้าที่ล้าสมัย เช่น WindowXP ก็จะถูกเทียบกับ Window10
- คนที่ล้าสมัย เช่น ใช้เป็นแต่ WinXP ก็จะถูกเทียบกับคนที่ใช้เป็นถึง Win10
- เปิดกล่องออกมาชิมขนมแล้วไม่พอใจ ก็ทิ้งแล้วไม่ซื้อมาอีก
บริษัททดลองจ้างมาทำงานแล้วไม่พอใจ ก็ปลดเมื่อครบโปรฯ - การที่เราตกงาน เป็นเพราะความสามารถเรายังไม่มากพอสำหรับเขา
*20. บริษัท = ลูกค้า, ที่เราต้องตอบคำถามเขาให้ได้ว่า
“ทำไมเขาต้องเลือกคุณ” ทดลองเล่นสล๊อต ทดลองเล่นสล๊อต
อย่าไปพึ่งภาวนาขอร้องให้เขาเลือกเรา
เพราะมันคือการขอให้เขาทำทานเราระยะยาว
เราคงไม่พึงพอใจนักเวลาเรานั่งอยู่ข้างทาง
แล้วเจอคนถือตระกร้ามาคุกเข่าต่อหน้าเราแล้วบอกว่า
“พี่ ช่วยซื้อของหนูหน่อย” - นอกจากกับคนไทยเอง บริษัทยังมีตัวเลือกในการเช่า(จ้าง)คนประเทศเพื่อนบ้านเรามาทำงานด้วยซ้ำ
- การฝึกงาน = เช่าในราคาถูก เพื่อเอาไปปั้น
- นายจ้าง(ลูกค้า) ที่ต้องการลูกทีม(สินค้า)ที่เป็นทักษะปัจจุบัน
- ถ้าเรารู้ว่าสิ่งที่เราเรียนมาไม่อัพเดท
เราต้องศึกษาเพิ่มด้วยต้นเอง
ไม่ว่าการศึกษาจะล้าหลังอย่างไร จงเอาทักษะที่จำเป็นไว้ใช้ในชีวิต โดยไม่มีข้ออ้าง
- จบวิศวะมา ได้ 4.00 เหรียญทอง > เขาต้องการให้เราสร้างตึกได้
- ทักษะของเรามีราคาเท่าไหร่ > ทำเงินให้เขาได้เท่าไหร่
ถ้าเรารู้ว่าค่าตัวเราเท่าไหร่ เราจะกล้าเรียกราคาเขาได้เท่านั้น - ราคา = ตัวสินค้า(เรา) + วิธีการนำเสนอทดลองเล่นสลอต
- “ฉันสู้งาน” > หมายความว่าอะไร, มีผลงานประจักษ์ไหม, ทำไมถึงอ้างเรื่องนี้?
- ทำความรู้จักกับสิ่งที่บริษัทกำลังทำอยู่ก่อน เราทำอะไรให้เขาได้
เช่น บริษัทจะยินดีจ้างคนเงินเดือน 100,000 บาทได้
ถ้าเขาทำเงินเข้าบริษัทได้เดือนละ 200,000 บาท - การนำเสนอคุณค่า คือเขียนคอนเท้นท์ Resume
- บริษัทรับสมัครงานทำกราฟฟิก
ส่ง Resume มาเป็นกระดาษ = สอบตก
ส่ง Resume มาเป็นไฟล์ Document = มีคนส่งมาอีก 200 คน
ส่ง Resume มาเป็นไฟล์ Animation นำเสนอตนเอง = เออ น่าสนใจ แถมมีตัวอย่างงานที่ทำได้มาในรูปแบบ Resume อีกด้วย
ส่ง Resume มาเป็น email แจ้งว่าผมทำ YouTube อยู่แล้วที่ช่องนี้มีคนติดตามแล้ว 10,000 คน = เอาคนนี้แหละ - content ไม่ใช่แค่เซลส์เพจนิ่ง ๆ หน้าเดียว
- ต่อให้จบเกรด 4.00 เหรียญทอง ก็ไม่อาจสู้ความประทับใจแรกในการนำเสนอได้
- ผลงานที่มีแล้ว = การนำเสนอที่ดีที่สุด
- การนำเสนอสำคัญยังไง?
กระเป๋า A กันน้ำได้ 100% รับประกันโดยห้องทดลองชื่อดังจากอเมริกา ขายมาแล้วทั่วโลก
กระเป๋า B ทำคลิปนำเสนอ 20 วินาที เอาฟองน้ำใส่ไว้ข้างใน เอาสายยางฉีดน้ำใส่แล้วกดลงสระแบบมิดน้ำ ดึงขึ้นมา เปิดกระเป๋าแล้วข้างในไม่เปียก ฟองน้ำไม่เปียก - วิธีการนำเสนอ = เขาจะรับงานเราเพราะอะไร
*37. ทุก ๆ ที่ที่เป็นตัวเรา ถือเป็น Resume ได้หมด
Facebook, YouTube, Twitter, Linkedin, Blog, Webboard
ฉะนั้นมีผลงานอะไร, เคยขายของออนไลน์, เคยเขียนหนังสือ, เคยออกบู๊ต, เคยลงแข่งอะไร ได้รางวัลอะไร, กิจกรรมอะไร, รวมถึงคอมเม้นท์อะไร, ด่าเรื่องการเมือง, ไปเดินขบวน, ไปนินทาอาจารย์ที่ปรึกษา, หยาบคายลงโซเชียลที่ไหน - ถ้าเราไม่กล้าเปิดให้ดู โดยอ้างว่าเป็นเรื่องส่วนตัว
บริษัทก็พูดได้ว่าก็การรับเราเข้ามาทำงาน ถือเป็นการอนุญาตให้เราเข้ามาในเรื่องส่วนบริษัทเหมือนกัน
*39. “จะมีผลงานอะไรได้ยังไง ก็พึ่งจะจบใหม่”
แล้วทำไมต้องรอให้จบก่อนถึงพึ่งจะหาผลงานมาอ้างอิงได้
จะเป็นวิศวกร ลองออกแบบตึกจำลอง ออกแบบบ้านในฝันมาก่อน ผิดถูกไม่รู้แต่อวดได้ว่านี่ไงฉันใช้โปรแกรมแบบนี้เป็น ทดลองเล่นสล๊อต - สรุปโดยรวมคือ การรับคนเข้าทำงาน
- *ดู Mindset ก่อน : เรื่องนี้ฝึกยาก ต้องใช้เวลานานมาก ๆ กว่าจะให้มันถูกทางได้ ต้องป้อนน้ำดีเป็นประจำในชีวิตประจำวัน
เสียเวลากว่าจะเปลี่ยนจาก Mindset ไม่ดีมาเป็นดี ฉะนั้นเมื่อมีตัวเลือกมาก ๆ บริษัทไม่เสียเวลาปั้น Mindset ตั้งแต่ก่อนรับเข้าบริษัท
แต่จะใช้เวลาบ่ม Mindset ในแต่ละวันเพื่อองค์กร เช่น ให้รักองค์กร, ให้รักการทำ OT, แล้วแต่แต่ละบริษัท - *ดู Skill : สิ่งที่เราเคยทำมาแล้วมีผลประจักษ์ เช่น YouTube, การเชิดชูลงหนังสือพิมพ์, ภาพร่วมกิจกรรมมหาลัย
ให้รู้ว่าคนนี้ไม่ได้แค่เรียนเสร็จแล้วกลับบ้านไปวัน ๆ ก็จะไม่มีความแตกต่างอะไรกับคนที่มาสมัครงานอีกกว่าร้อยคนที่ส่งมาสมัคร
ถ้าใช้โปรแกรมเป็น เคยจับงานมาบ้าง Skill พวกนี้ยังไงก็ต้องฝึกกับองค์กร เช่น เคยพากย์เสียงนิทานการ์ตูนมาแล้ว ใช้เสียงเป็น มีฝีมืออ่านไปพูดไปได้
แต่ Skill การอ่านข่าว ประกาศข่าว ก็ต้องฝึกกับองค์กรแล้วค่อย ๆ ไต่เต้าขึ้นไป
- ไม่ต้องรอให้มีการจ้างงานก่อน ก็มีผลงานได้นะ ยิ่งมีผลงานอ้างอิงได้ ยิ่งโชว์ให้ดูได้เลย เรายิ่งได้เปรียบ
- ทุกที่ที่เป็นตัวเรา = Resume เราปกปิดความเป็นตัวเองไม่ได้
- ระวังเรื่องตรรกะวิบัติ เช่น หัวหน้าบอกให้ซื้อ 500 แล้วเอาไปขาย 2,000
แล้วเราเอาความรู้สึกเราเข้าไปจับว่า 2,000 ขายไม่ได้หรอก ลูกค้าเขาดูที่ราคากัน ไม่เชื่อหัวหน้า แล้วลดราคาเอง = พัง - Resume? > ลองทำพอร์ทผลงานดูสิ (Portfolio)
- ถ้าสามารถทำเงินให้บริษัทมาเท่าไหร่
ก็ต่อรองราคาตัวเราได้เท่านั้น - ที่ไม่เกี่ยวกับ Skill แต่เป็นความสามารถพิเศษก็น่าสนใจได้นะ
เช่น ทำอาหารอร่อยจากของเหลือในตู้เย็นได้
บริษัทต่างจังหวัดนี้ยังไม่มีโรงอาหาร สั่งอาหารทีต้องขับกระบะไป 4 กิโลเพื่อไปซื้อร้านข้าวแกง
เขาก็อาจจะเปิดครัวให้คุณทำบัญชีพร้อมเป็นพ่อครัวให้พนักงานในแผนกกิน แล้วเก็บเงินที่กองกลางก็ได้ - นำเสนอความเป็นตัวเราให้เขารู้จักเรา
*48. การปรับตัวและเปลี่ยนแปลงเป็น
ประสบการณ์เขียนภาษา C+, ปาสคาล, เซียนการใช้ Windows XP มา 15 ปี > ปัจจุบันเขาจะยังใช้อยู่เหรอ? - บริษัทไม่ได้แคร์หรอกว่าเราทำอะไรมา
เขาสนใจที่ว่าเราทำอะไรเป็น (โดยอิงจากสิ่งที่ทำมาบ้าง) - “ก็คนสอนไม่สอน” > แล้วทำไมต้องรอให้ใครมาสอน เราก็ต้องออกไปหาเรียนเอง, เปิดเน็ตเอง, หาอ่านเอง, ตั้งกระทู้ถามคนอื่นเองสิ
- อย่ายึดติดความสำเร็จตอนเรียน เพราะสนามการทำงานไม่เกี่ยวกับสนามที่เราเรียน
- ทำงานในบริษัทเล็ก อาจจะเงินเดือนน้อย แต่ก็ได้เปรียบตรงที่เราลุยงานอะไรก็ได้ เก็บพอร์ทประสบการณ์เราไปใช้อ้างอิงหรือไปต่อบริษัทต่อ ๆ ไปได้
- บริษัทใหญ่ก็ไม่ได้มีเงินแล้วรับได้หมดทุกคนนะ เขาอาจจะรับมา 5 คนเพื่อเหลือ 1 คนทำงานจริงก็ได้
- จงเป็น “ผู้มีผลงาน” ในสายอาชีพของเรา
- 70% ของคนที่จบปริญญาตรี ทำงานไม่ตรงสาย
- ทำงานเลี้ยงอาชีพ อย่าทำงานเลี้ยงอีโก้ตนเอง
ถ้าจนตรอกจริง ๆ อะไรที่ทำไปพลาง ๆ ก่อนได้บางทีก็ต้องทำ ขับวินรับส่งของ ล้างจาน ขายของ - ปี 2030 ที่จะถึงจะเปลี่ยนแปลงจนทำให้อาชีพในปัจจุบันหายไปกว่า 50%
เช่น หุ่นยนต์ทำงานขับรถแทนคน, ผู้ให้คำปรึกษากฎหมายก็หาอ่านได้ในเว็บที่เชื่อถือ, พนักงานคิดเงินก็โดนชำระโดยตัวลูกค้าเองลดราคา 3% เป็นต้น - คนที่ตกงาน = คนที่สร้างคุณค่าในปัจจุบันไม่ได้, แก้ปัญหาให้คนอื่นไม่ได้
- ICON Siam / Paragon ก็ไม่เคยมีปัญหาที่เขาขายแพง เพราะเขาขายให้คนมีตังค์เขาซื้อ ไม่ใช่ให้คนไม่มีตังค์
*60. จงเรียนรู้ตลอดเวลา - หรือถ้ายังไม่ได้เรียนรู้ตลอดเวลา ก็ต้องมีทัศนคติ มี Mindset ที่จะรับฟังรับรู้สิ่งใหม่ ๆ เข้ามาได้โดยไม่กีดกันได้ตลอดเวลา
- มีทักษะในการหาเงินมากกว่า 1 อย่าง
เช่น เป็นวิศวะแต่ก็ขายของออนไลน์เป็น, เป็นหมอแต่ก็รู้เรื่องกฎหมายด้วย, เป็นนักวาดรูปแต่ก็มีช่อง YouTube ลงเรื่อย ๆ
*63. อาชีพเสริม ไม่ใช่ทางเลือก / อาชีพเสริม คือทางรอด ** - งานที่มั่นคง ไม่ใช่งานที่ไม่ตกงานอย่างเดียว แต่เป็นงานที่ทำแล้วมีความสุขด้วย
งานหนักไหม, ต้องมีประชุมตอนเวลาที่เจ้านายที่อเมริกาตื่นบ้างไหม, ต้องเดินทางไปมาแต่ละจังหวัดบ้างไหม, ต้องทะเลาะกับลูกค้าบ้างไหม - ทำงานที่ไม่ชอบติดต่อกันนาน ๆ เราจะเริ่มเกลียดงาน แล้วผลงานก็จะออกมาไม่ดี
- โอเค ทำงานที่ชอบที่ใช่ แต่ทำไมเงินน้อยจัง
เราต้องขายคุณค่านั้นให้กับคนที่รู้คุณค่าของเรา เช่น เราเก่งงานไม้มาก แต่คนต้องการจ้างเราแค่ทำช้างตุ๊กตาขาย 20 บาท แล้วไปทำทำไม ทำไมไม่ทำเฟอร์นิเจอร์ ประตูไม้แกะสลักขายเป็นพัน ๆ หมื่น ๆ ไปล่ะ - ทุกทักษะเดียวกัน แต่ตลาดคนละกลุ่มก็ราคาไม่เท่ากันนะ เช่น คนกวาดบ้านให้โรงเรียนก็ราคานึง คนกวาดบ้านให้โรงแรมก็อีกราคา
- ซ่อมมอเตอร์ไซด์ > ซ่อม Big Bike ก็ราคาไม่เท่ากัน
ซ่อมรถ Toyoto > ซ่อม Bentz ก็ราคาไม่เท่ากัน
ไม่มีประสบการณ์ตอนนี้ ก็อาจจะต้องไปรับงานราคาถูกเพื่อเอาประสบการณ์งานที่ยากขึ้นมาทำให้เป็นให้เก่งก่อน - มองให้ออกว่าเราช่วยใครได้ -> ให้ดีเน้นที่ช่วยคนรวยได้ก่อน
- ครีมแต้มสิวสาวออฟฟิต -> ครีมแต้มสิวของดารานักร้อง ก็ราคาไม่เท่ากัน
- มันอยู่ที่พอร์ทผลงานที่เรามี มันอยู่ที่การนำเสนอของเราว่ามันเจ๋งขนาดไหนออกไป แล้วไปหากลุ่มลูกค้าที่ยินดีจ่ายได้
- ไม่จำเป็นต้องรอเรียนจบแล้วค่อยเริ่มหางานก็ได้
- “โตขึ้นอยากเป็นอะไร” อาจจะใช้ไม่ได้ในอนาคตนะ
จงถามว่า “ตอนนี้อยากเป็นอะไร” หรือ “โตขึ้นอยากมีชีวิตแบบไหน”
*74. “อยากเป็นอะไร” ตอบอยากเป็นนักบิน = เป็นนักบิน
แล้วถ้าเป็นไม่ได้ขึ้นมาล่ะ
“อยากมีชีวิตแบบไหน” ตอบอยากเที่ยวรอบโลก = เป็นนักบิน, เป็นไกด์ทัวร์, เป็น YouTube สายแบคแพค, อาชีพมันจะหลากหลายขึ้น - อีก 5 ปีอยากมีชีวิตแบบไหน? > รายได้, การพักผ่อน, เพื่อนฝูง, เรื่องที่สนใจ, ลูกศิษย์ลูกทีม, มีให้พ่อแม่เท่าไหร่, บ้านอยู่แถวไหน
เมื่อเริ่มคำถามแบบนี้ ตัวเลือกมันจะกว้างและหลากหลายมากขึ้น และถ้าอย่างนึงไม่เวิร์คก็ยังมีให้เลือกอีกอย่างหนึ่งได้ - คนที่จะประสบความสำเร็จจริง ๆ มีเป็นส่วนน้อยแค่หยิบมือ
แปลว่าเราจะเอาอย่างคนส่วนใหญ่ไม่ได้
เพราะส่วนใหญ่จะไม่ประสบความสำเร็จ
[NPC4]
สรุปทักษะ
1) attribute : เรามีความสามารถอะไร, คุณค่าที่เรามีมีประโยชน์กับใคร, ถ้าตกยุคไปแล้วก็บาย เช่น ลูกคิดกับเครื่องคิดเลข
2) benefit : เราทำประโยชน์, กำไร, ลดต้นทุน ให้เขาได้เท่าไหร่ ประเมินราคาว่าเขายินดีจ่ายไหม ถ้าลูกค้าสลัม ก็จ่ายเราถูก ๆ > หน้าที่ของเราคือหาคนมีตังค์ที่ยินดีจ่ายให้เจอ
3) communicate : พรีเซนต์, นำเสนอออกไป, มีพอร์ทผลงานที่ประจักษ์ ดูได้ เช็คได้, ยังไม่มีใครจ้างเรา ก็ทำเล่น ๆ ให้มีผลงานเล่น ๆ ก็ได้
4) adapt : ปรับตัว, เปลี่ยนแปลงได้ เพราะอีก 3-5 ปีไม่รู้ว่างานของเราจะยังมีอยู่ไหม, ทำไฟล์ 2D อาจจะล้าหลัง 3D และอาจจะไม่ติดฝุ่นงาน VR
5) life long learning : เรียนรู้ตลอดเวลาทั้งชีวิต, จงสนุกกับการเรียนรู้, ตื่นเต้นได้กับการเรียนรู้ ในเรื่องที่เราชอบ
ถ้าตอนนี้ยังไม่ชอบ ก็ลองมองหาที่ชอบที่สนุกกับเรา แล้วเบนเข็มทิศไปหา
ตรงสายไม่ตรงสายช่างมัน ตราบใดก็ตามที่หาเงินเลี้ยงชีพได้ ไม่ได้เลี้ยงอีโก้(Ego